เคล็ดลับการใช้ยา

 

รู้จักชื่อยาของคุณ

1.         เขียนรายชื่อยาของคุณที่ใช้อยู่เป็นประจำ วิธีนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเตือนความจำและสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์หากคุณไม่สามารถบอกชื่อยาได้ด้วยตนเองในกรณีฉุกเฉินและยังเป็นประโยชน์โดยเฉพาะหากคุณพบหมอมากกว่า 1 คน

2.         กินยาให้หมดโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ หากคุณได้รับยามากิน 2 สัปดาห์ อย่าหยุดยาใน 2-3 วัน เพราะเพียงแค่คุณรู้สึกว่าดีขึ้น ยาเหล่านี้จำเป็นต้องกินให้ครบระยะเวลาที่กำหนดเพราะยาช่วยกำจัดเชื้อโรคไม่ให้กลับมาอีก

3.         กินยาอย่างต่อเนื่อง อย่าหยุดยาเพียงเพราะยาหมด คุณควรโทรหาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับยาเพิ่ม ยารักษาโรคส่วนใหญ่ต้องกินอย่างต่อเนื่อง หากคุณต้องโทรหาแพทย์เพื่อรับยา ให้จำชื่อยาและปริมาณยา รวมถึงชื่อและเบอร์โทรของเภสัชกร

4.         โดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่สำคัญมากในการกินยาคือการกินยาให้ถูกเวลา ตามตาราง เช่น 1 ชั่วโมงก่อนอาหาร หรือ 2 ชั่วโมงหลังอาหาร เป็นเรื่องง่ายๆที่หลายๆคนควรทำตาม วิธีการกินยาแบบนี้ดีกว่าการกินยาทีเดียวรวมกัน พยายามกินยาให้ถูกเวลาที่สุด

5.         พยายามกินยาร่วมกับการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น กาแฟถ้วยแรก อาหารเช้า อาหารเย็น หรือแปรงฟันก่อนเข้านอน ให้กิจกรรมประจำวันเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์

6.         ให้รู้ว่าจะทำอย่างไรหากลืมกินยา ยาแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกัน ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์

7.         ให้อ่านฉลากยาก่อนที่จะกินยาเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เกิดเหตุการณ์สุดวิสัยจากการเปลี่ยนแปลงจากเภสัชกร ให้มองที่ยาว่ามันเหมือนกันยาตัวเก่าที่กิน หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับยา ควรปรึกษาเภสัชกรทันที

8.         ให้ถามเภสัชกรเกี่ยวกับยาที่ไม่มีใบสั่งยา แม้ว่าความจริงแล้ว ยาเหล่านี้สามารถหาซื้อโดยปราศจากใบสั่งยา ซึ่งเป็นความเสี่ยงมาก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจหรือใช้ยาหลายชนิด

9.         อย่าผสมยาชนิดอื่นๆในขวดเดียวกัน เก็บยาตามภาชนะเดิมของมัน (ยกเว้นคุณใส่มันในกล่องยา)

เมื่อคุณต้องเดินทาง จัดยาให้พอกับระยะเวลาวันพักร้อน จัดยาในกล่องยาและแน่ใจว่าคุณมียาเพียงพอ ให้ขนยาในกระเป๋าสะพาย อย่าเก็บไว้ในกระเป๋าเดินทางอาจทำให้ยาหาย คุณอาจจะจัดยาไว้ 2 เซต เพื่อป้องกันในกรณีที่ยาหายหรือยาถูกทำลาย

10.       อย่ากินยาของคนอื่นหรือให้ยาคนอื่นกิน

11.      หากคุณรู้สึกยุ่งยากลำบากที่จัดเวลาการกินยา ลองทำตามนี้

ให้ใครสักคนช่วยคุณจัดยาออกมา

ซื้อกล่องยาที่ระบุวันไว้หน้ากล่องที่ราคาไม่แพงนักจากร้านขายยาเพื่อช่วยจัดยาในอาทิตย์หนึ่งให้อยู่ในกล่องยาตัวเดียวกัน วิธีนี้หากคุณไม่แน่ใจว่าได้กินยาตามเวลาที่กำหนดหรือไม่ ให้คุณดูที่กล่องยาหากว่ายาหายไป คุณก็จะรู้เองว่าคุณได้กินยาไปแล้ว

12.      นำขวดยาของคุณติดตัวไปด้วยเมื่อต้องไปหาหมอ วิธีนี้เพื่อให้ตรวจสอบยาได้แน่ชัด อย่านำเพียงแค่ตัวอย่างยานิดหน่อยใส่ภาชนะอื่นให้คุณหมอดู เนื่องจากมียาหลายชนิดที่ดูคล้ายกัน

13.       ผลข้างเคียง ให้ถามแพทย์ถึงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น

14.      หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยา ให้ถาม อย่าคิดว่าคำถามของคุณโง่เง่า คุณไม่ใช่คนแรกที่ถามหมอและให้คุณบอกหมอว่ายาอะไรบ้างที่คุณกินโดยไม่ได้ใช้ใบสั่งยา

15.      เก็บบันทึกยาที่คุณเคยกินในอดีตและไม่ได้ผลกับคุณให้แน่ใจจริงๆว่าจำยาทั้งหมดที่เป็นเหตุให้เกิดผลรุนแรง การสวมใส่กำไลข้อมือเพื่อเป็นการเตือนให้คุณรู้ถึงผลรุนแรงเหล่านี้ (คุณอาจเขียนรายชื่อยาที่สำคัญ เช่น ยาเบาหวาน อินซูลิน)

16.      วิธีการอื่นๆเพื่อช่วยให้คุณแน่ใจว่าได้กินยาแล้ว

พกปฏิทินให้ใกล้กับยา แล้วทำเครื่องหมายไว้เมื่อคุณได้กินยาแล้ว

ซื้อนาฬิกาข้อมือที่มีการเตือนเวลาการกินยา ให้ตั้งเวลาเมื่อถึงเวลาที่คุณต้องกินยา

17.      หากคุณมียามากกว่า 1 ชนิด พยายามให้เวลาสอดคล้องกันเมื่อต้องรับยาเพิ่มเติม

18.      ปรึกษาแพทย์หากว่าคุณสามารถใช้ยาทั่วไปได้

 

 

ที่มา : 108 วิธีสุขภาพดี ต้านโรค ชะลอวัย โดยพัชรวรรณ พรรณพฤกษา หน้าที่ 32-35